เน้นบริการที่รองรับกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มีความหนาแน่นต่อโครงข่ายสูง (1 ล้านอุปกรณ์ต่อตารางกิโลเมตร) ซึ่งแต่ละอุปกรณ์มีการส่งข้อมูลด้วยปริมาณต่ำ และกินทรัพยากรน้อย(ใช้พลังงานต่ำ) ตัวอย่างของการใช้งานในด้านนี้ จะเกี่ยวกับแบบแผนของ IoT (Internet of Things) ที่รองรับกับข้อมูลจากเซนเซอร์จำนวนมาก สำหรับตัวอย่างการนำไปใช้งานในด้านนี้ จะประกอบไปด้วย
เทคโนโลยี Smart Home
เซนเซอร์หลายชนิดจะติดตั้งเอาไว้ภายในตัวบ้าน เพื่อใช้เฝ้าสังเกตการณ์การทำงาน สำหรับทำนายช่วงเวลาที่ต้องทำการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยระบบ 5G จะรองรับการเชื่อมต่อทางวิทยุไปยังอุปกรณ์ภายในบ้านซึ่งต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ แล้วบูรณาการเข้ากับโครงข่ายที่มีอยู่ ทำให้สามารถเข้าถึงและควบคุมการทำงานอุปกรณ์ดังกล่าวจากระยะไกลได้
เทคโนโลยี Smart Agriculture
ในการทำเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้โครงข่าย 5G จะอยู่ในขั้นตอนของการจัดการหน้าดินสำหรับเพาะปลูกโดยใช้เกษตรกรรมความแม่นยำสูงร่วมกับจีเอ็นเอสเอส การทำระบบชลประทาน (การควบคุมปริมาณความชื้นในพื้นที่เพาะปลูก โดยใช้เซนเซอร์ IoT) รวมทั้งการเพาะพันธุ์พืช และการเก็บเกี่ยว (ใช้รถจักรกลเกษตรกับ RTK) สำหรับกรณีที่ต้องการพ่นยาแก่พืชไร่แล้ว จะมีการนำเซนเซอร์ระบุตำแหน่งและเซนเซอร์สำหรับพ่นยาไปติดกับโดรนแบบพิเศษ เพื่อควบคุมการพ่นยาได้ทั่วไร่โดยใช้แรงงานเพียงไม่กี่คนเท่านั้น