การสื่อสารที่ความเร็วสูงและความหน่วงต่ำของเทคโนโลยี 5G จะเป็นแรงผลักดันให้สังคมก้าวสู่ยุคของเมืองอัจฉริยะใหม่และ Internet of Things (IoT) กลุ่มนายทุนต่างได้นำเสนอความเป็นไปได้ในกรณีการใช้งานของเทคโนโลยี 5G และ ITU ก็ได้กำหนดการใช้งาน 3 ด้านหลักดังนี้
eMBB หรือ enchanced Mobile Broadband สำหรับการใช้งานโครงข่ายบรอดแบนด์ที่ดีขึ้น การร่วมมือกันทางธุรกิจ AR และ VR
กรณีการใช้งานของ eMBB
mMTC หรือ massive Machine-Type Communications สำหรับการใช้งาน IoT การตรวจสอบสินทรัพย์ การเกษตรอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ บ้านอัจฉริยะ การตรวจสอบพลังงาน และการตรวจสอบระยะไกล
กรณีการใช้งานของ mMTC
URLLC หรือ Ultra-Reliable and Low-Latency Communications สำหรับการใช้งานรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โครงข่ายพลังงานอัจฉริยะ การดูแลผู้ป่วยระยะไกล หรือการรักษาระยะไกล และระบบอัตโนมัติในโรงงาน
กรณีการใช้งานของ URLLC
โดย eMBB นั้นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายคาดว่าจะเป็นกรณีการใช้งานหลักสำหรับ 5G ในยุคเริ่มต้นของ 5G eMBB จะนำการเชื่อมต่อความเร็วสูงมาสู่พื้นที่ที่แออัด ทำให้ผู้ใช้งานได้เพลิดเพลินต่อการสตรีมมิ่งความเร็วสูงในทุกที่อย่างทันท้วงที และทำให้เกิดการร่วมมือกันทางธุรกิจ ผู้ให้บริการยังคาดว่า eMBB จะแก้ปัญหาเรื่องการให้บริการ last-mile สำหรับพื้นที่ที่สายทองแดงหรือไฟเบอร์เข้าไม่ถึง
5G ยังถูกหวังว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและอุปกรณ์ IoT ผ่านการติดตั้งเซนเซอร์พลังงานต่ำจำนวนมากทั้งในตัวเมืองและชนบท ความปลอดภัยและความมั่นคงที่มาพร้อมกับ 5G ทำให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานที่สาธารณะและงานวิกฤต เช่น โครงข่ายพลังงานอัจฉริยะ การรักษาความปลอดภัย การจัดการประปาและไฟฟ้า และบริการสุขภาพ และด้วยคุณสมบัติที่มีความหน่วงต่ำ จึงเหมาะกับการผ่าตัดทางไกล ระบบอัตโนมัติในโรงงาน และกระบวนการควบคุมแบบทันที
ตัวอย่างกรณีใช้งานของเทคโนโลยี 5G ตามข้อกำหนดของ ITU
e-Health (eMBB, mMTC, URLLC)
ตัวอย่างของการใช้งานด้านสุขภาพ จะเกี่ยวข้องกับโทรเวชกรรม เช่น การรับและส่งต่อข้อมูลด้านการแพทย์การติดตามการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล การนำเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้ทันทีในเวลาเดียวกัน (Real-time)
Smart Industry (mMTC, URLLC)
สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบดิจิทัล จะใช้สำหรับสร้างผลผลิต การจัดการพลังงาน รวมทั้งการบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบ ร่วมกับการบูรณาการ IoT เพื่อนำข้อมูลจากเซนเซอร์ภายในโรงงาน เข้ามาช่วยในการจัดการภายในโรงงานอีกด้วย
Smart Grids (mMTC)
เซนเซอร์หลายชนิดจะติดตั้งเพื่อใช้เฝ้าสังเกตการณ์โครงข้ายสำหรับทำนายช่วงเวลาที่ต้องทำการซ่อมบำรุง และการดูแลรักษาคาวมปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐาน โดย 5G จะรองรับการเชื่อมต่อทางวิทยุไปยังอุปกรณ์ภายในโรงงานซึ่งต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ แล้วบูรณาการเข้ากับโครงข่ายที่มีอยู่ ทำให้สามารถเข้าถึงและควบคุมการทำงานได้
IoT and Sensors (mMTC)
เพื่อการนำเซนเซอร์แบบฉลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์บนแพลตฟอร์มของ IoT โครงข่าย 5G จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์เหล่านี้โดยตรง โดยจะมีข้อดีที่สำคัญดังนี้
- สามารถควบคุมการทำงานอุปกรณ์ได้แบบ real-time
- สามารถควบคุมเครื่องจักรขนาดใหญ่ หรือเครื่องจักรที่่ต้องทำงานบนพื้นที่เสี่ยงภัยได้ เช่น การส่งหุ่นยนต์ไปเก็บกู้ระเบิด การส่งหุ่นเข้าไปตรวจรังสีนิวเคลียร์ภายในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น
- สามารถปรับปรุงการขนส่งให้มีความคุ้มค่าได้ เช่น การวัดความเร็วเพื่อนำไปช่วยลดความหนาแน่นรถยนต์บนถนน
- สามารถติดตามการผลิต หรือสินค้าที่ส่งได้อย่างต่อเนื่อง จากนั้นยังมีการประยุกต์ใช้กับด้านสุขภาพ เช่น สมาร์ทวอช การจัดการภายในเมืองแบบฉลาด ระบบตรวจสอบมาตรวัดก๊าซ มาตรวัดการประปา รวมถึงมาตรวัดไฟฟ้าอีกด้วย
Video Surveillance (eMBB)
การตรวจตราเมืองผ่านกล้องวงจรปิด หรือกล้องตรวจจับความร้อนที่ต้องการความละเอียดที่สูง รวมทั้งการจัดการและควบคุมจะต้องแน่ใจว่าสามารถทำได้แบบเวลาจริง เพื่อใช้แจ้งเตือนเหตุการณ์ณืที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องที่ได้ตรงตามตำแหน่งเกิดเหตุจริง ซึ่งจะต้องใช้เทคโนโลยี eMBB และ URLLC ซึ่งเป็นเป็นแง่การใช้งานที่ระบบ 5G จะรองรับได้ในอนาคต
Augmented and Virtual Reality for Cultural Heritage (eMBB)
การขยายและจำลองเสมือนจริงสำหรับมรดกทางวัฒนธรรม จะใช้เทคโนโลยี eMBB ที่มีอัตราการรับและส่งข้อมูลที่สูง เพื่อใช้ในการจำลองสภาพแวดล้อมในอดีตตามข้อมูลที่ระบุไว้ พร้อมกับแสดงผลที่ได้ผ่าน VR (virtual reality) ให้แก่ผู้เข้าชม เสมือนว่าผู้เข้าชมย้อนกลับไปอยู่ในสถานที่จริงในอดีตได้อีกครั้ง
Structural Monitoring of Buildings and Infrastructures (eMBB, mMTC)
บริการเฝ้าสังเกตการณ์อาคารและโครงสร้างพื้นฐานของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น การวัดระดับการทรุดตัวโครงสร้างตึก การเฝ้าสังเกตการณ์สภาพท่อประปา หรือท่อระบายน้ำ การวัดระดับน้ำในเขื่อน แม้กระทั่งการติดตามสภาพการจราจร จะต้องมีการรายงานสถานการณ์ในกรณีที่เกิดความฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที โดยโครงข่าย 5G จะมีข้อกำหนดที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานด้วยความละเอียดสูงและมีความแม่นยำ ซึ่งจะนำข้อมูลจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายมาประมวลผลโดยใช้ AI เพื่อระบุสภาพปัจจุบันของโครงสร้าง หรือสิ่งที่สนใจ พร้อมกับเปรียบกับข้อมูลก่อนหน้าเพื่อระบุความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
Agriculture 2.0 (eMBB)
ในการทำเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้โครงข่าย 5G จะอยู่ในขั้นตอนของการจัดการหน้าดินสำหรับเพาะปลูกโดยใช้เกษตรกรรมความแม่นยำสูงร่วมกับจีเอ็นเอสเอส การทำระบบชลประทาน (การควบคุมปริมาณความชื้นในพื้นที่เพาะปลูก โดยใช้เซนเซอร์ IoT) รวมทั้งการเพาะพันธุ์พืช และการเก็บเกี่ยว (ใช้รถจักรกลเกษตรกับ RTK)
Smart Safety for Smart Cities (eMBB)
เพื่อการรักษาความปลอดภัยของเมือง จึงต้องใช้เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยที่สามารถแจ้งเหตุร้ายได้ทันที โดยเทคโนโลยี 5G จะเข้ามารองรับการควบคุมโดรน หรือเครื่องบินตรวจการณ์ผ่านการสังเกตด้วยกล้องวงจรปิดในบริเวณที่เกิดเหตุ ในสถานการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
Security Issues
เนื่องจากเทคโนโลยี 5G จะต้องรองรับการเสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วและมีปริมาณมหาศาล จะทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น โดยปัจจัยที่เป็นความท้าทายของโครงข่าย 5G จะประกอบไปด้วย
- การให้บริการความปลอดภัยเข้ากับบริการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ 5G เช่น การป้องกันการจารกรรมข้อมูลในคลาวด์ การป้องกันบุคคลภายนอกเข้าถึงระบบควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน
- การให้บริการระบบความปลอดภัยที่สมบูรณ์เพื่อสร้างรายได้ใหม่ การสร้างความสามารถในการแข่งขันและสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้า